โครงการฝึกอบรมแนวทางจัดตั้งศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่ในรพศ.และรพท.

ที่มาของโครงการ
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าเป็นความพิการแต่กำเนิดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย บิดามารดาและผู้ปกครอง และอาจจะนำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ  การรักษาตามมาตรฐานสากลต้องอาศัยการทำงานแบบทีมสหวิทยาการ มิฉะนั้นการรักษาผู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นการรักษาเฉพาะปัญหา และทำให้บางปัญหาของผู้ป่วยถูกละเลย อาจมีการรักษาแบบซ้ำซ้อนหรือมีภาวะแทรกซ้อนยากแก่การแก้ไข  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขจักต้องสนับสนุนให้เกิดการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพของสถานพยาบาลและนำไปสู่การดูแลความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าชนิดอื่น ๆ ที่รุนแรงกว่าได้  ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปากแหว่ง เพดานโหว่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ร่วมกับสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ของประเทศ จึงดำริให้มีการจัดโครงการฝึกอบรมแนวทางการจัดตั้งศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ขึ้น
อนึ่ง โครงการนี้จะมีการดำเนินการเป็น 3 ระยะ เพื่อให้เกิดผลลัพท์ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ภายใต้ระบบกระทรวงสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลแบบองค์รวมแบบทีมสหวิทยาการ
- เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือแบบสหสถาบันในระดับประเทศของบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงาน สมาคมวิชาชีพและองค์กรสุขภาพที่ให้บริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าที่มีมาตรฐาน
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า โดยการให้การศึกษาฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
วันเวลา
การฝึกอบรมระยะที่ 1 จะจัดขึ้นในระหว่างวันอังคารที่ 8 ถึงวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563
สถานที่
ห้องประชุมช้างเผือก ชั้น 7 อาคารผู้ป่วยนอกและอำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
กลุ่มเป้าหมาย
โรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ที่มีความพร้อมในการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ศัลยแพทย์ตกแต่ง กุมารแพทย์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟัน ทันตแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง พยาบาล นักอรรถบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์
- รพ.สรรพสิทธิ์ประสงค์
- รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
- รพ.พระนั่งเกล้า
- รพ.ลำปาง
- รพ.ระยอง
กำหนดการ
วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
08.30-08.45 น. | ลงทะเบียน |
---|---|
08.45-09.00 น. | กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา |
09.00-09.20 น. | นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขด้านสุขภาพช่องปาก โดย ทพ.ประจักษ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี |
09.20-10.00 น. | การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านปากแหว่งเพดานโหว่ของการพัฒนาระบบบริการ สาขาสุขภาพช่องปาก โดย ทพ.ประจักษ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ทพ.หรินทร์ คล้ายพึ่ง ประธานศูนย์ความเป็นเลิศสาขาสุขภาพช่องปาก |
10.00-10.15 น. | รับประทานอาหารว่าง |
10.15-10.50 น. | แนวทางการจัดตั้งศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดย นพ.พินัย นิรันดร์รุ่งเรือง หัวหน้าศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่ ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์ ที่ปรึกษาศูนย์ปากแหว่งแพดานโหว่ |
10.50-12.00 น. | การดูแลเชิงระบบในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ในงานทันตกรรมจัดฟันและงานศัลยกรรมตกแต่ง โดย นพ.พินัย นิรันดร์รุ่งเรือง ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์ |
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-14.00 น. | การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในมุมมองของกุมารแพทย์ โดย นพ.ชูเกียรติ เพิ่มทองชูชัย |
14.00 -14.15 น. | รับประทานอาหารว่าง |
14.15-15.00 น. | การดูแลเชิงระบบในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ในงานศัลยกรรมช่องปาก โดย ทพ.ธนัย ทรัพย์จรรยา |
15.00-15.45 น. | การฝึกพูดในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดย นายชิษณุพงศ์ นุ่นโฉม |
15.45-16.30 น. | การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในมุมมองของพยาบาล โดย น.ส.ชนัญพร แช่มพุดซา นางรุจิราภา พุทธพิพัฒน์ น.ส.นิตยา อินทรา น.ส.ฐาปนี อ้นแพ |
วันพุธที่ 9 กันยายน 2563
08.30-12.00 น. | ศึกษาดูงานคลินิกปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดย นพ.พินัย นิรันดร์รุ่งเรือง ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์ ทพญ.สมศรี กล้าจอหอ ทพญ.กวิยา กนกพงศ์ศักดิ์ นางพรินทร์ สุวรรณัง นายชิษณุพงศ์ นุ่นโฉม (นักเวชศาสตร์การสื่อสารความหมาย นักแก้ไขการพูด) |
---|---|
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-16.30 น. | ศึกษาดูงานคลินิกปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดย นพ.พินัย นิรันดร์รุ่งเรือง ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์ ทพญ.สมศรี กล้าจอหอ ทพญ.กวิยา กนกพงศ์ศักดิ์ นางพรินทร์ สุวรรณัง นายชิษณุพงศ์ นุ่นโฉม (นักเวชศาสตร์การสื่อสารความหมาย นักแก้ไขการพูด) |
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
08.30-09.15 น. | การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในมุมมอง ENT โดย พญ.เพ็ญพรรณ บุญประสาทสุข |
---|---|
09.15-10.45 น. | การใช้โปรแกรม E claim ของสปสช. และสิทธิการรักษาอื่น ๆ โดย นางปราณี วิทยากาญจน์ และคณะ |
10.45-11.00 น. | รับประทานอาหารว่าง |
11.00-12.00 น. | อภิปรายเรื่อง การทำงานของศูนย์เฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพจากสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ผศ. นพ.ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์ คุณสุธีรา ประดับวงษ์ รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ คุณอาทิติยา แดงสมบูรณ์ |
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-14.30 น. | ชมวิดีโอการให้บริการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในสถานบริการต่าง ๆ
|
14.30-16.30 น. | อภิปรายในหัวข้อ “อุปสรรคของความเป็นเลิศ” โดยทีมสหสาขาวิชาชีพจากสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ผศ. นพ.ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์ คุณสุธีรา ประดับวงษ์ คุณอาทิติยา แดงสมบูรณ์ |
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563
ห้องประชุม | ห้องแลปทันตกรรม | ห้องแยกตามสาขา | |
---|---|---|---|
08.30-12.00 น. | ศึกษาการผ่าตัดเย็บริมฝีปากและจมูกระยะแรก ภายหลังการใช้ Korat NAM โดย นพ.พินัย นิรันดร์รุ่งเรือง |
Workshop โคราชแนม ในห้องแลปทันตกรรม โดย ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์ ทพญ.สมศรี กล้าจอหอ ทพญ.กวิยา กนกพงศ์ศักดิ์ ทพญ.จุฬาภรณ์ ศรีพวาทกุล นางศุภลักษณ์ กาลิพล นางสาวณัฏฐิกา ราษี |
ศึกษางานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (กลุ่มสหวิชาชีพ) โดย ทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา |
13.00-16.00 น. | ศึกษาการผ่าตัดปลูกกระดูกในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดย ทพ.ธนัย ทรัพย์จรรยา และทพญ.อัชฌา กะเหว่านาค |